บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2017

จงยกตัวอย่างโปรโตคอล ที่ทำงานใน OSI Model แต่ละ Layer

รูปภาพ

TLS : Transport Layer Security

รูปภาพ
TLS  เป็น โพรโทคอล ที่ใช้ เข้ารหัส ข้อมูลที่ส่งใน อินเทอร์เน็ต  เช่น เว็บเพจ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมสนทนา และอื่นๆ เพื่อความปลอดภัยในการส่งข้อมูล มีข้อแตกต่างในรายละเอียดทางเทคนิคระหว่าง SSL 3.0 และ TLS 1.0 เพียงเล็กน้อย ดังนั้นตัวย่อ SSL จะหมายถึงโพรโทคอลทั้งคู่ ในกรณีที่ไม่ระบุว่าตัวใดตัวหนึ่งเป็นพิเศษ แหล่งที่มา :  https://goo.gl/mvcM9Z

LDAP : Lightweight Directory Access Protocol

รูปภาพ
LDAP  เป็น  Protocol  ที่พัฒนามาจาก Protocol X.500 ซึ่งใช้ในการเข้าถึงและ Update ข้อมูลของ Directory ซึ่งDirectory ในทาง Computer ที่จริงก็อาจเรียกได้ว่าเป็น Database แบบพิเศษหรือ Data repository ที่บรรจุรายละเอียดของ Object ต่างๆ เช่น Users, Application, Files, Printer และอื่นๆ รวมทั้ง Security information ของ Object เหล่านี้ด้วย โดยข้อแตกต่างของ Directory กับ Database ปกติ แหล่งที่มา :  https://goo.gl/625LWJ

SNMP : Simple Network Management Protocol

รูปภาพ
SNMP ย่อมาจาก Simple Network Management Protocol ซึ่งเป็นโพรโทคอลที่อยู่ระดับบนในชั้นการประยุกต์ และเป็นส่วนหนึ่งของชุดโพรโทคอล TCP/IP เครือข่ายอินทราเน็ตที่ใช้โพรโทคอล TCP/IP มีอุปกรณ์เครือข่ายแบบหลากชนิดและหลายยี่ห้อ แต่มาตรฐานการจัดการเครือข่ายที่ใช้งานได้ผลดีคือ SNMP ในการบริการและจัดการเครือข่ายต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ มีส่วนของการทำงานร่วมกับระบบจัดการเครือข่าย ซึ่งเราเรียกว่า เอเจนต์ (Agent) เอเจนต์เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่อยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมอยู่ในเครือข่ายโดยมีคอมพิวเตอร์หลักในระบบหนึ่งเครื่องเป็นตัวจัดการและบริหารเครือข่ายหรือเรียกว่า NMS-Network Management System แหล่งที่มา :  https://goo.gl/4oYmqM

SIP : Session Initiation Protocol

รูปภาพ
Session Initiation Protocol (SIP) คือ โพรโทคอลหรือเกณฑ์วิธีเพื่อใช้งานด้านมัลติมีเดีย เช่น การส่งข้อมูลเสียงหรือวีดีโอบนเครือข่าย  IP  ได้รับการพัฒนาโดย IETF และ SIP ถือว่าเป็นโพรโทคอลที่เหนือกว่าโพรโทคอลอื่นในแง่ของการที่สามารถปรับใช้และนำไปพัฒนาได้ง่ายกว่า โดยตัว โพรโทคอล เองมีความสามารถในการสร้าง (create) , ปรับ (modify) และ ยกเลิก (terminate) การติดต่อสื่อสารระหว่างโหนดที่เป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (unicast) หรือแบบกลุ่ม (multicast) ได้ ซึ่ง SIP สามารถปรับเปลี่ยนที่อยู่ (address), หมายเลขพอร์ต, เพิ่มสายผู้สนทนา และสามารถเพิ่มหรือลดการส่งข้อมูลมิเดีย (media stream) บางประเภทได้ ตัวอย่างของโปรแกรมประยุกต์ (application) ที่อาศัย SIP ในการเชื่อมต่อ เช่น การประชุมด้วยวิดีโอ (video conferencing), การกระจายข้อมูลภาพและเสียง (streaming multimedia distribution), การส่งข้อความด่วน (instant messaging), การส่งไฟล์ (file transfer) และ เกมออนไลน์ เป็นต้น SIP ถูกออกแบบโดยนาย Henning Schulzrinne และนาย Mark Handly ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 โดยเวอร์ชันล่าสุดถูกประกาศใน RFC 3261 โดย  IETF  Network Working Gr

UDP : User Datagram Protocol

รูปภาพ
เป็นโพรโทคอลหลักในชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต การส่งข้อมูลผ่านยูดีพีนั้น คอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลขนาดเล็กที่เรียกว่า ดาทาแกรม (datagram) ผ่านเครือข่ายไปยังเครื่องปลายทาง โดย UDP จะไม่รับประกันความน่าเชื่อถือและลำดับของเดทาแกรม อย่างที่ทีซีพีรับประกัน ซึ่งหมายความว่าเดทาแกรมอาจมาถึงไม่เรียงลำดับ หรือสูญหายระหว่างทางได้ แอปพลิเคชันที่ใช้ยูดีพีเป็นฐานในการส่งข้อมูลคือ ระบบการตั้งชื่อโดเมน, สื่อแบบส่งต่อเนื่อง, การสนทนาบนไอพี และเกมออนไลน์ แหล่งที่มา :  https://goo.gl/hpwWnu

NNTP : Network News Transfer Protocol

รูปภาพ
NNTP เป็น โพรโทคอล สำหรับอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการอ่านและเขียน กลุ่มข่าว  (Usenet) และใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างแต่ละ เซิร์ฟเวอร์กลุ่มข่าว  โพรโทคอล NNTP พัฒนาต่อมาจากโพรโทคอล  SMTP  โดยใช้ พอร์ต  119 ของโพรโทคอล  TCP  แต่ถ้าใช้การเชื่อมต่อแบบเข้ารหัสด้วย  SSL  จะใช้พอร์ต 563 แทนและเรียกว่า NNTPS แหล่งที่มา :  https://goo.gl/BXu1Ba

ICMP : Internet Control Message Protocol

รูปภาพ
  ICMP คือ การแจ้งหรือแสดงข้อความจากระบบ เพื่อบอกให้ผู้ใช้ ทราบว่า เกิดอะไรขึ้นในการส่งผ่านข้อมูลนั้น ซึ่งปัญหาส่วนมากที่พบคือ ส่งไปไม่ได้ หรือปลายทางรับข้อมูลไม่ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ โปรโตคอล ICMP ยังถูกเรียกใช้งานจากเครื่อง Server และ Router อีกด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้ควบคุม ส่วนรูปแบบการทำงานของโปรโตคอล ICMP นั้นจะทำควบคู่กับโปรโตคอล IP ในระบบเดียวกัน และข้อความต่าง ๆ ที่แจ้งให้ทราบจะถูกผนึกอยู่ภายในข้อมูล IP ( IP datagram) อีกทีหนึ่ง ข้อความที่โปรโตคอล ICMP ส่งนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ ICMP Error Message หรือข้อความแจ้งข้อผิดพลาด และ ICMP Query หรือข้อความเรียกขอข้อมูลเพิ่ม ตัวอย่างกลไกการทำงานของโปรโตคอล ICMP เช่น เมื่อมีการส่งผ่านข้อมูลจากผู้ใช้ไปยังปลายทางที่ไม่ถูกต้อง หรือขณะนั้นเครื่องปลายทางเกิดปัญหาจนไม่สามารถรับข้อมูลได้ ที่ Router จะส่งข้อความแจ้งเป็น ICMP Message ที่ชื่อ Destination Unreachable ให้กับผู้ส่งข้อมูลนั้น นอกจากนี้ตัวข้อมูลที่แจ้งข้อความ ก็จะมีส่วนของข้อมูล IP Datagram ที่เกิดปัญหาด้วย ดังนั้น เมื่อผู้ส่งข้อมูลได้รับข้อความแจ้งแล้ว ก็จะทราบได้ว่า

RARP : Reverse Address Resolution Protocol

รูปภาพ
RARP (Reverse Address Resolection Protocol) เป็นโปรโตคอล ซึ่งเครื่องทางกายภาพ ในเครือข่าย LAN สามารถขอเรียนรู้ IP Address จากเครื่องแม่ข่าย gateway หรือตาราง Address Resolution Protocol ผู้บริหารเครือข่ายสร้างตารางใน gateway router ของเครือข่าย LAN ที่ใช้จับคู่ address ของเครื่องทางกายภาพ (หรือ Media Access Control address) ที่ตรงกับ Internet Protocol address เมื่อมีการติดตั้งเครื่องใหม่ โปรแกรมลูกข่ายของ RARP จะขอ RARP server จาก routerให้ส่ง IP address มาให้ สมมติว่ามีการตั้งค่าในตาราง router แล้ว RARP server จะส่งกลับ IP address ไปที่เครื่องซึ่งจะเก็บไว้สำหรับการใช้ต่อไป RARP มีให้กับเครือข่าย LAN แบบ Ethernet, Fiber Distributed-Data Interface และ Token ring แหล่งที่มา :  https://goo.gl/i3TJ7U

ARP : Address Resolution Protocol

รูปภาพ
ARP (Address Resolution Protocol) เป็น โปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสาร ทำหน้าที่ในการจับคู่ระหว่างไอพีแอดเดรสทางลอจิคัล กับ แอดเดรสทางทางฟิสิคัล ทั้งนี้เนื่องจากระบบของการส่งข้อมูลในระบบไอพีนั้น เป็นระบบที่ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ใดๆ ซึ่งหมายความว่าระบบไอพีไม่มีความสามารถในการเรียกใช้ฮาร์ดแวร์ในการส่งข้อมูลด้วยตัวเอง ทำให้เมื่อระบบไอพีต้องการส่งข้อมูล จะต้องร้องขอบริการจากระดับชั้นดาต้าลิงค์ แต่เนื่องจากระดับชั้นดาต้าลิงค์ไม่รู้จักแอดเดรสในระบบไอพี ดังนั้นระบบไอพีจึงต้องทำการหาแอดเดรสที่ระดับชั้นดาต้าลิงค์รู้จัก ซึ่งก็คือฮาร์ดแวร์แอดเดรส เพื่อที่จะสร้างเฟรมข้อมูลในชั้นดาต้าลิงค์ได้ โดยโพรโตคอล ARP จะทำหน้าที่นี้การทำงานของ ARP เมื่อแพ็คเกตนำเข้าที่ระบุเครื่อง host ในระบบเครือข่ายมาถึง Gateway เครื่องที่ Gateway จะเรียกโปรแกรม ARP ให้หาเครื่อง Host หรือ MAC address ที่ตรงกับ IP Address โปรแกรม ARP จะหาใน ARP cache เมื่อพบแล้วจะแปลงแพ็คเกต เป็นแพ็คเกตที่มีความยาวและรูปแบบที่ถูกต้อง เพื่อส่งไปยังเครื่องที่ระบุไว้ แต่ถ้าไม่พบ โปรแกรม ARP จะกระจายแพ็คเกตในรูปแบบ บรอดคาสต์ ไปยังเครื่องทุกเครื่องในระบบ

DHCP : Dynamic Host Configuration Protocol

รูปภาพ
DHCP  ย่อมาจาก  Dynamic Host Configuration Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่ายกับลูกข่าย โดย DHCP ได้รับการยอมรับเป็นมาตราฐานในการใช้งานในเครือข่ายแทน BOOTP ซึ่งเป็นโพรโทคอลรุ่นเก่า ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 โดยในปัจจุบันนี้ DHCP ได้มีการพัฒนามาถึงเวอร์ชั่น DHCPv6 ใช้กับงานร่วมกับโพรโทคอล IPv6 และได้รับมาตราฐานในการใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ.2003 DHCP ทำหน้าที่อะไร หน้าที่หลักๆของ DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) คือคอยจัดการและแจกจ่ายเลขหมายไอพีให้กับลูกข่ายที่มาเชื่อมต่อกับแม่ข่ายไม่ให้หมายเลขไอพีของลูกข่ายมีการซ้ำกันอย่างเด็ดขาด อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งได้ทำการเชื่อมต่อกับ DHCP Server เครื่องเซฟเวอร์ก็จะให้ หมายเลขไอพีกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาทำการต่อเชื่อมแบบอัตโนมัติ ซึ่งไม่ว่าจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากเท่าไร DHCP Server ก็จะออกเลยหมายไอพีให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่ซ้ำกันทำให้เครือข่ายนั้นไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน DHCP Server มีหลักการในการจ่ายหมายเลขไอพีให้กับลูกข่ายอยู่ 3 วิธีด้วยกันคือ 1. กำหนดด้วยตัวเอง ซึ่งผู

IPX/SPX : Internetwork Packet Exchange/Sequenced Packet Exchange

รูปภาพ
IPX/SPX ย่อมากจาก  Internet work Packet Exchange (IPX) และ Sequenced Packet Exchange (SPX) โดยโปรโตคอลทั้งสองตัวนี้จะทำงานประสานกันทุกครั้ง ซึ่งโปรโตคอลทั้งสองตัวนี้ได้รับการพัฒนามาจาก Novell โดยบริษัทนี้ได้นำโปรโตคอล XNS ของบริษัท Xerox Corporation มาพัฒนาต่อจนกลายเป็น IPX/SPX หลักการทำงานของโปรโตคอล IPX/SPX ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็ต้องแยกออกมาเป็นโปรโตคอล 2 ตัวด้วยกันคือ Internetwork Packet Exchange (IPX) ทำหน้าที่เหมือนกับพนักงานคัดแยะเอกสาร ซึ่งหน้าที่ของโปรโตคอลตัวนี้จะทำการหาปลายทางในการส่งและติดต่อกับผู้ส่ง โดยทำงานในระดับ Network Layer โดยทำงานอยู่ในเลเยอร์ที่ 3 ตามมาตราฐานของ  OS I Model โดยโปรโตคอล IPX นี้จะทำงานแบบ connectionless และ unrerelible ซึ่งการทำงานแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อกับเครื่องที่ติดต่อกันอย่างถาวรหรือตลอดเวลา ส่วนโปรโตคอล SPX นั้นจะเปรียบเทียบก็เป็น พนักงานส่งจดหมายหลังจาก IPX ได้ทำการหาปลายทางและทำการจัดส่งข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว SPX จะนำข้อมูลไปส่งให้กับผู้รับซึ่งโปรโตคอลนี้จะทำงานอยู่ในระดับ transport layer โดยทำงานอยู่ในเลเยอร์ที่ 4 ตา

TCP/IP : Transfer Control Protocol/Internet Protocol

รูปภาพ
TCP/IP          การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ  จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล ( Protocol   ) ซึ่งในระบบ Internet   จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP เป็นภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ TCP  ย่อมาจากคำว่า   Transmission Control Protocol IP   ย่อมาจากคำว่า   Internet  Protocol TCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ  TCP และ IP  มีหน้าที่ต่างกัน คือ  1.  TCP จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยระหว่างการรับส่งข้อมูลนั้นก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูลด้วย ถ้าเกิดผิดพลาด TCP ปลายทางก็จะขอไปยัง TCP ต้นทางให้ส่ง

IP : Internet Protocol

รูปภาพ
IP เป็นโปรโตคอลในระดับเน็ตเวิร์คเลเยอร์ ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับแอดเดรสและข้อมูล และควบคุมการส่งข้อมูลบางอย่างที่ใช้ในการหาเส้นทางของแพ็กเก็ต ซึ่งกลไกในการหาเส้นทางของ IP จะมีความสามารถในการหาเส้นทางที่ดีที่สุด และสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางได้ในระหว่างการส่งข้อมูล และมีระบบการแยกและประกอบดาต้าแกรม (datagram) เพื่อรองรับการส่งข้อมูลระดับ data link ที่มีขนาด MTU (Maximum Transmission Unit) ทีแตกต่างกัน ทำให้สามารถนำ IP ไปใช้บนโปรโตคอลอื่นได้หลากหลาย เช่น Ethernet ,Token Ring หรือ Apple Talk การเชื่อมต่อของ IP เพื่อทำการส่งข้อมูล จะเป็นแบบ connectionless หรือเกิดเส้นทางการเชื่อมต่อในทุกๆครั้งของการส่งข้อมูล 1 ดาต้าแกรม โดยจะไม่ทราบถึงข้อมูลดาต้าแกรมที่ส่งก่อนหน้าหรือส่งตามมา แต่การส่งข้อมูลใน 1 ดาต้าแกรม อาจจะเกิดการส่งได้หลายครั้งในกรณีที่มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ (fragmentation) และถูกนำไปรวมเป็นดาต้าแกรมเดิมเมื่อถึงปลายทาง แหล่งที่มา :  https://goo.gl/Tf6KKf

IMAP : Internet Message Access Protocol

รูปภาพ
IMAP ย่อมาจาก  Internet  Message Access Protocol  ซึ่งมีข้อดีกว่า โปรโตคอล POP (P os t Office Protocol) ที่จะทำงานแบบ Offline Model หรือจะเรียกว่าการทำงานด้านเดียวนั้นเอง ซึ่งการทำงานของ POP จะแตกต่างจาก IMAP อย่างสิ้นเชิง โดยการทำงานของ POP จะใช้งานผ่าน Email client จากเครื่อง คอมพิวเตอร์  ติดต่อกับ Mail Server โดยตรงซึ่งการแก้ไข ลบ เพิ่ม เติมอีเมล์ก็จะทำได้จาก Email client เท่านั้น แต่การทำงานของ IMAP นั้นทำงานแตกต่างจากโปรโตคอล POP ด้วยการทำงานควบคู่กับอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆซึ่งการทำงานแบบนี้เรียกว่า การทำงานแบบ Two way communication หรือ Online Model ลักษณะการทำงานของโปรโตคอล IMAP นั้นจะทำงานแบบออนไลน์ด้วยการจัดการและประมวลผลต่าง ๆทางออนไลน์จาก Mail Server ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเตือนว่ามีการเปิดอ่านเมล์ใหม่หรือยัง หรือการลบเมล์ที่มีอยู่ใน อินบล็อคออกไป โดยการทำงานทั้งหมดจะอยู่ที่ Mail Server เป็นตัวจัดการ ซึ่งผู้ใช้งานเพียงแต่ทำงานอ่านและจัดการสั่งงานเพียงเท่านั้น เราสามารถอธิบายการทำงานของระบบ IMAP ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้นไปอีกก็คือ เมื่อเราเปิดอ่านเมล์ในมือถือและทำการลบเมล์นั้

FTAM : File Transfer, Access and Management

รูปภาพ
File Transfer, Access and Management (FTAM) ให้บริการเกี่ยวกับการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์และการอ่าน การเขียน หรือแม้กระทั่งการลบไฟล์ที่อยู่ในอีกเครื่องหนึ่งได้ เป็นการถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง เอฟแทม (FTAM : File Transfer, Access and Management) ในโอเอสไอ เป็นชั้นบนสุดของ OSI และหมายถึง Application ทางด้านการสื่อสาร เช่น FTAM (File Transfer, Access and Management) บริการถ่ายโอนไฟล์ รวมถึงอ่าน ลบ เขียนไฟล์ที่อยู่ในอีกเครื่องหนึ่ง, MHS (Message Handing Service) บริการเกี่ยวกับอีเมล์ ตัวอย่างการบริการของลำดับชั้นนี้แสดงความสำเร็จของการสื่อสาร การใส่รหัสเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล การกู้ข้อมูลที่เกิดความเสียหาย FTAM อยู่ระดับชั้นแอพลิเคชั่น ระดับชั้นบนสุดทำหน้าที่กำหนดแอพลิเคชันหรือโปรโตคอลเพื่อบริการผู้ใช้ แหล่งที่มา :  https://goo.gl/B7K7PD

HTTP : Hyper Text Transfer Protocol

รูปภาพ
HTTP  HTTP ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol คือ โพรโทคอลสื่อสารสำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ต โดยหลักแล้วใช้ในการรับเอกสารข้อความหลายมิติที่นำไปสู่การเชื่อมต่อกับ World Wide Web( WWW   )จะใช้เมื่อเรียกโปรแกรม web browser  เช่น Firefox, Google Chrome, Safari,Opera และ  IE Microsoft Internet Explorer  เรียกดูข้อมูลหรือเว็บเพจ โปรแกรมบราวเซอร์ดังกล่าวจะใช้โปรโตคอล HTTP ซึ่งโปรโตคอลนี้ทำให้เซิร์ฟเวอร์ส่งข้อมูลมาให้บราวเซอร์ตามต้องการ และบราวเซอร์จะนำข้อมูลมาแสดงผลบนจอภาพได้อย่างถูกต้อง ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่าง Server และ Client ของ World Wide Web (Server) โดยส่งข้อมูลแบบ Clear text คือ ข้อมูลที่ทำการส่งไปนั้น ไม่ได้ทำการเข้ารหัส ทำให้สามารถถูกดักจับและอ่านข้อมูลได้ง่าย แหล่งที่มา :  https://goo.gl/pmaQ2e

SMTP : Simple Mail Transfer Protocol

รูปภาพ
SMTP SMTP ย่อมาจาก Simple Mail Transfer Protocol คือ  Protocol    แบบ  TCP/IP   ที่ใช้ในการส่ง  E-Mail   ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไปยังเครื่องบริการอื่น ๆ ซี่งสามารถส่งเมล์ไปยังผู้ใช้ได้ทั่วโลก มีข้อจำกัดในเรื่องของความสามารถในการส่ง e-mail ว่ามันสามารถทำได้แบบเป็นคิวเท่านั้น และ SMTP ส่วนใหญ่จะไม่ยอมให้คนนอกองค์กร หรือ IP ที่อยู่นอกองค์กรใช้งาน SMTP แหล่งที่มา :  https://goo.gl/YRb1N3 แหล่งที่มารูปภาพ :  http://www.firstcoms.com/images/joomlart/corporate/smtp-2.png

POP3 : Post Office Protocol 3

รูปภาพ
POP3 POP3 ย่อมาจาก Post Office Protocol version 3 คือโปรโตคอล (  Protocol  ) ที่ใช้รับ  E-Mail  ซึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ version 3 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า POP3  มีการทำงานแบบ Store-and-Forward นั้นหมายความว่า e-mail ที่ได้รับจะถูกเก็บไว้ที่เครื่อง Server เพียงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อมีความต้องการอ่าน e-mail ระบบจะทำการส่งข้อมูลของ e-mail มายังเครื่อง Client และลบข้อมูลบน Server ออก ดังนั้น เราสามารถอ่าน Mail ของเราหลังจากดึงข้อมูลเสร็จแล้ว ได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อ Internet ต่างกับ  SMTP  เพราะ POP จะใช้ในการรับ e-mail เท่านั้น ส่วน  SMTP จะใช้ในการส่ง e-mail แหล่งที่มา :  https://goo.gl/aL55jp

FTP (File Transfer Protocol)

รูปภาพ
FPT FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือ โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้ FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Filezilla,CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น FTP แบ่งเป็น 2 ส่วน 1. FTP server  เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลแอนเข้าไป 2. FTP client  เป็นโปรแกรม FTP ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ

HTTPS : Hypertext Transfer Protocol over Secure Socket Layer

รูปภาพ
HTTPS https ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol over Secure Socket Layer หรือ http over ssl คือ โปรโตคอลที่ระบุถึงการเชื่อมต่อแบบ Secure http โปรโตคอล https สร้างเพื่อความปลอดภัย ในการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตข้อมูลที่ทำการส่งได้ถูกเข้ารหัสเอาไว้ โดยใช้ Asymmetric Algorithm ซึ่งถ้าถูกดักจับได้ก็ไม่สามารถที่จะอ่านข้อมูลนั้นได้รู้เรื่อง โดยข้อมูลนั้นจะสามารถอ่านได้เข้าใจเฉพาะClient กับเครื่อง Server เท่านั้น นิยมใช้กับเว็บไซต์ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น เว็บไซต์ของธนาคาร ร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น แหล่งที่มา :  https://goo.gl/pmaQ2e

รายชื่อสมาชิก

รูปภาพ
นางสาวสุดารักษ์   ปิงทะวัง                57151058 นายเจษฎา            แสงปัญญา           57151006 นายธนพล             พันตรีเกิด             57151130 นางสาวปวีณา       ไพรพนาคีรีเลิศ     57151160 นายอมเรศ             อดทน                  57151048